::.. Thyroid disease ..::
   


Thyroid disease

ต่อมธัยรอยด์มีหน้าที่อะไร

ต่อมธัยรอยด์มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว 4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก

ปกติต่อมธัยรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ tetraiodothyronine (thyroxine หรือ T4) และ triiodothyronine (T3) โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียก Hypothyroid ร่างกายจะเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลด เรียก Hyperthyroid

การวินิจฉัย

การตรวจเลือดหาระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน

ต่อมใต้สมอง pituitary gland จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) and T4 (thyroxine) เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร
หากต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก Hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ
หากต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก Hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง



Thyroid scan

คือการตรวจต่อมธัยรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานเกลือ iodine ที่อาจสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ Thyroid scan คือ

บอกว่าต่อมธัยรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ Thyroiditis
บอกว่าต่อมธัยรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ hyperthyroid
แยกก้อนที่ธัยรอยด์ว่าเป็น Hot หรือCold nodule
Hot nodule หมายถึงก้อนที่ต่อมธัยรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนสูงมักจะไม่เป็นมะเร็ง ส่วน cold nodule มีโอกาสเป็นมะเร็ง 5 % มะเร็งธัยรอยด์ส่วนใหญ่เป็น cold nodule


Hot nodule หมายถึงก้อนที่ต่อมธัยรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนสูงมักจะไม่เป็นมะเร็ง ส่วน cold nodule มีโอกาสเป็นมะเร็ง 5 % มะเร็งธัยรอยด์ส่วนใหญ่เป็น cold nodule

Needle aspirate
การใช้เข็มเจาะเนื้อธัญรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้วงจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็น cyst

การตรวจ ultrsound เพื่อตรวยดูว่าก้อนธัญรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น cyst


โรคของต่อมธัยรอยด์

ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไปเรียก Hypothyroid

ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไปเรียก Hyperthyroid

ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษร่วมกับตาโปนเรียก Graves'disease

ต่อมธัยรอยด์อักเสบ Hashimoto's Thyroiditis

ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์เรียก Thyroid Nodules

มะเร็งต่อมธัยรอยด์ Thyroid cancer

 

ยารักษาต่อมธัยรอยด์

ยาที่ใช้รักษาต่อมธัยรอยด์เป็นพิษในประเทศไทยมีด้วยกัน 2 ตัวคือ PTU [propylthiouracil] MMI [methimazole ] ยากลุ่มนี้มีประโยชน์ในการรักษาต่อธัยรอยด์เป็นพิษ การเลือกใช้ยาขึ้นกับแพทย์แต่ละท่าน MMI มีข้อดีกว่า PTU หลายประการดังนี้

  สะดวกเพราะสามารถให้ยาวันละครั้ง

  สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นไวกว่า

  ใช้ยาจำนวนเม็ดน้อยกว่า

  มีความปลอดภัยมากกว่า

  แต่ในบางภาวะจะต้องใช้ PTU ซึ่งให้ผลดีกว่าเช่น การให้ยาในขณะท้อง การให้ยาขณะให้นมบุตร การให้ยาขณะเกิด thyroid strom

  ขนาดยาที่ใช้รักษา

  ผู้ป่วยคนไทยใช้ PTU 150 มก/วัน MMI 15 มก/วัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เริ่มเป็นหรือไม่รุนแรง หลังจากหยุดยาจะมีเพียงร้อยละ 50 ที่ไม่กลับเป็นซ้ำ

  ผลข้างเคียงของยา

  ยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงหลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น ไข้ ผื่นคัน ปวดข้อ โดยพบช่วงแรกของการรักษาและพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่รับยาขนาดสูง ผลข้างเคียงที่สำคัญแต่พบน้อยคือ Agranulocytosis คือภาวะที่มีเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 250 ตัว/มม aplastic anemia คือภาวะที่ไขกระดูกฝ่อไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดผู้ป่วยจะมีโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำและเกร็ดเลือดต่ำ hepatitis polyarthritis

  การติดตามการรักษา

หลังจากได้รับยาควรไปพบแพทย์ตามนัดโดยทั่วไปแพทย์จะนัดอีก 4-6 สัปดาห์เมื่อคุมภาวะธัยรอยด์เป็นพิษได้แล้ว
จึงลดขนาดยาลง โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษา1-2 ปีจึงจะหยุดยาได้ หลังหยุดยาจะมีผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำของภาวะธัยรอยด์เป็นพิษซึ่งมักจะเกิดใน 3-6 เดือน
แรกหลังหยุดยา แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหยุดยาได้ 5 ปีโดยที่ไม่เกิดอาการ


 



ควรใช้โปรแกรม IE 5 ขึ้นไปและปรับหน้าจอเป็น 1024 x 768 pixcel ตัวหนังสือขนาด medium
Best view in IE 5.X or above. Set display : 1024 x 768 pixels, High Color & Medium font.
มีปัญหาหรือข้อติชม ติดต่อ e-mail KnockOut_1989@Hotmail.com
© Copyright 2003 Knock_Out. All right reserved .