::.. Cushing's syndrome ..::
โรคคุชชิง (Cushing's syndrome)

โรคคุชชิง เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์ (ย 12) นาน ๆ เช่น การใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยเอสเอลอี ( 111), ปวดข้อรูมาตอยด์ ( 110), โรคไตเนโฟรติก (135) เป็นต้น หรือเกิดจากการกินยาชุดที่เข้ายาสเตอรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์มากผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีเนื้องอกของต่อมหมวกไต หรือเนื้องอกของต่อมใต้สมอง ( ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป) หรือเนื้องอกของส่วนอื่น ๆ (เช่น มะเร็งปอด รังไข่ ตับหรือไต) ที่สร้างฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมาก

โรคคุชชิงไม่ได้เกิดจากการใช้ยาสเตอรอยด์ เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก และพบมากในผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน แต่ก็อาจพบในคนทุกเพศทุกวัยได้

อาการ

มักจะค่อย ๆเกิดขึ้นช้า ๆ เป็นแรมเดือน ในระยะแรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดงเรื่อ ๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง ( อยู่ระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง) แลดูเป็นหนอก ซึ่งภาษาแพทย์เรียว่า อาการหนอกควาย (Buffalo's hump) รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่แขนขากลับลีบเล็กลง ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า

ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำ ๆ ที่บริเวณท้อง (ท้องลายคล้ายคนหลังคลอด) และบริเวณตะโพก ผิวหนังบางและมีจ้ำเขียวพรายย้ำง่ายเวลาถูกกระทบกระแทก

มักมีสิวขึ้น และมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า (ถ้าพบในผู้หญิงทำให้ดูว่าคล้ายมีหนวดขึ้น) ลำตัว และแขนขา
กระดูกอาจพุกร่อน มักทำให้มีอาการปวดหลัง ( เพราะกระดูกสันหลังผุ)
อาจมีความดันโลหิตสูง หรือมีอาการของเบาหวาน
ผู้หญิง อาจมีเสียงแหบห้าว และมีขนมากแบบผู้ชาย ประจำเดือนมักจะออกน้อยหรือไม่มาเลย
ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือกลายเป็นโรคจติ หรือไม่มีความรู้สึกทางเพศ

อาการแทรกซ้อน

อาจมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องมากจากความดันโลหิตสูง เช่น หัวใจวาย ( 98), อัมพาตครึ่งซีก ( 76), โรคหัวใจขาดเลือด ( 96)
อาจมีการติดเชื้อง่าย ซึ่งจะพบบ่อยที่บริเวณผิวหนัง (เป็นฝี พุพองง่าย) และทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นแผลหายยาก
อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะ ( 51), กระดูกหักง่าย หรือเป็นโรคจิต

การรักษา

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล
เพื่อวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจหรือทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ
ในรายที่มีสาเหตุจากการกินสเตอรอยด์ (ย 12) ควรค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง ห้ามหยุดยาลงทันที อาจทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงานเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได

ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แล้วให้กินยาสเตอรอยด์ทดแทนไปชั่วชีวิต เพราะภายหลังการผ่าตัดร่างกายสร้างฮอร์โมนชนิดนี้เองไม่ได

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้มักเกิดจากการใช้สเตอรอยด์มากเกินไปเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยานี้พร่ำเพรื่อหรือใช้อย่างผิด ๆ (เช่น การซื้อยาชุดที่มียานี้ผสมกินเป็นประจำ) ยกเว้นโรคบางโรคอาจต้องใช้ยานี้รักษา ซึ่งก็ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
2. โรคนี้ถ้าไม่รักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อน เป็นอันตรายถึงตายได้ ในรายที่เกิดจากเนื้องอก การผ่าตัดจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติได้ แต่จะต้องกินสเตอรอยด์เข้าไปทดแทนในร่างกายตลอดไป ห้ามขาดยาเป็นอันขาด

   














 






















































ควรใช้โปรแกรม IE 5 ขึ้นไปและปรับหน้าจอเป็น 1024 x 768 pixcel ตัวหนังสือขนาด medium
Best view in IE 5.X or above. Set display : 1024 x 768 pixels, High Color & Medium font.
มีปัญหาหรือข้อติชม ติดต่อ e-mail KnockOut_1989@Hotmail.com
© Copyright 2003 Knock_Out. All right reserved .