ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)

  ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland = T) และต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid = P) อยู่ชิดติด กันโดยมี เปลือกหุ้มเรียกว่า capsule (Ca) ซึ่งเป็นเนื้อประสานแบ่งแยกออกจากกัน เนื้อ ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเป็น Follicles (F) ที่มีหลายขนาดภายใน follicle บรรจุ colloid ส่วน เนื้อพาราไทรอยด์ประกอบด้วยเซลล์อัดกันแน่นมีลักษณะเป็นแผ่น โดยมีเซลล์ 2 ชนิด คือ chief cells (c) หรือ principle cells เซลล์นี้มีขนาดเล็กและ cytoplasm น้อยกว่าเซลล์ ตัวที่สอง คือ oxyphil cells (o) ซึ่งเป็นเซลล์ตัวโตมี cytoplasm มาก ติดสีชมพูอ่อน และ มักพบอยู่เป็นกลุ่มหน้าที่ของเซลล์ชนิดที่สองยังไม่ทราบชัด แต่ chief cells สร้างและ หลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์



  ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) มีเปลือกหุ้มและ septa ลักษณะ ของพวกเซลล์เรียงตัวเป็นแผ่น ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด
1. Chief cells พบจำนวนมาก พวกเซลล์มีขนาดเล็กแต่มีนิวเคลียสค่อนข้างใหญ่
2. Oxyphils พบจำนวนน้อย พวกเซลล์มีขนาดใหญ่ cytoplasm ติดสีกรด (ชมพู) และ มักอยู่กันเป็นกลุ่มๆ

  ต่อมพาราไทรอยด์ ฝังในเนื้อพลาสติก แสดงลักษณะของ Chief Cell (CC), Oxyphil Cells (OC), Nuclei (N) ของเซลล์เนื้อประสาน (CT) แทรกอยู่ในเนื้อต่อม, BV = Blood vessels. ต่อมไร้ท่อชนิดนี้สร้าง พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathormone) โดยฮอร์โมนนี้ทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูงขึ้น โดย 3 วิธีการ
1. มีผลโดยตรงต่อกระดูก คือการเพิ่มอัตรา osteoclastic resorption เท่ากับ มีการทำลายเนื้อกระดูก
2. มีผลโดยตรงต่อไตคือ เพิ่มการดูดซึมของ Calcium ions เข้าทาง renal tubular cells และหยุดการดูดซึมของ phosphate ions จาก glomerular filtrate
3. เพิ่มการดูดซึมแคลเซี่ยมจากลำไส้เล็ก ซึ่งอิทธิพลนี้เกี่ยวข้องกับวิตามิน D



ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone)

มีทั้งหมด 4 ต่อม ข้างละ 2 ต่อม เป็นขนาดเล็กอยู่ทางด้านหลังของต่อมไทรอยด์พาราทอร์โมน (parathormone, PTH) เป็นฮอร์โมนที่ต่อมพาราไทรอยด์สร้างขึ้น มีผลในการกระตุ้นให้มีการเพิ่มของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ถ้าหากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงจะมีการหลั่งพาราทอร์โมนเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้มีการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมามากขึ้นด้วย ถ้าหากมีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะมีผลให้เกิดการสะสมของแคลเซียมที่ไต เส้นเลือดกระดูกเสียแคลเซียมมากเกินไป จึงเปราะบาง และหักง่าย


ถ้าหากมีพาราทอร์โมนน้อยเกินไป ทำให้แคลเซียมในเลือดลดลง หากมีแคลเซียมต่ำมาก ๆ จะมีอาการชักกระตุกและเกร็ง อาจจะทุเลาลงถ้าฉีดพาราทอร์โมนในปริมาณที่พอเหมาะและควรให้วิตามินด้วย
 




ควรใช้โปรแกรม IE 5 ขึ้นไปและปรับหน้าจอเป็น 1024 x 768 pixcel ตัวหนังสือขนาด medium
Best view in IE 5.X or above. Set display : 1024 x 768 pixels, High Color & Medium font.
มีปัญหาหรือข้อติชม ติดต่อ e-mail KnockOut_1989@Hotmail.com
© Copyright 2003 Knock_Out. All right reserved .